การรับเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี |
การรับเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา |
|
สำหรับการรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้ดำเนินการรับนักเรียนตาม ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา TCAS โดยมีรอบของการรับ ดังนี้
โดยรับสมัครผ่านคณะวิทยาศาสตร์ใน TCAS รอบที่ 1 (โครงการที่ดำเนินการผ่านคณะ) และ TCAS รอบที่ 1 - 4 ผ่านสำนักทะเบียนและประมวลผล |
สำหรับการรับเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้ดำเนินการรับนักศึกษา ผ่านบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีหลักสูตร 4 หลักสูตร ประกอบด้วย
โดยการรับสมัคร สามารถดูรายละเอียดได้ที่ บัณฑิตวิทยาลัย
|
จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อบอกเรื่องราวของคณิตศาสตร์ในแง่มุมที่นักเรียนอาจไม่ทราบหรือเข้าใจผิด เพื่อให้ มีข้อมูลที่ถูกต้อง ใช้ประกอบ ในการตัดสินใจ เลือกสาขาวิชาเอกที่จะเรียน
คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากตอนเรียนมัธยม
การเรียนคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยจะแตกต่างจากที่เรียนมัธยมคือจะประกอบด้วยสองส่วน
นักศึกษาจำเป็นต้องมีทั้งสองทักษะนี้ ซึ่งทั้งสองทักษะนี้ไม่ได้แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ในการแก้ปัญหาใดๆ มักจะมีการอ้างทฤษฎีบท เราจะต้องมีความเข้าใจทฤษฎีบทอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม หลายปัญหาค่อนข้างจะเป็นนามธรรมมาก (คือไม่ใช่แค่ยกมาหนึ่งตัวอย่าง แต่เป็นการพูดถึงในกรณีทั่วๆไป) จำเป็นต้องแสดงการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์
การศึกษาทฤษฎีบท
คณิตศาสตร์ที่จะพบเมื่อเลือกเรียนเป็นวิชาเอกจะมีความ เป็นนามธรรม และ เป็นเหตุเป็นผล นั่นคือเราจะไม่สนใจตัวอย่างเฉพาะเจาะจงและการคำนวณโดยใช้ตัวเลข แต่จะศึกษาเป็นโดยรวม เช่น ฟังก์ชัน เมทริกซ์ เวกเตอร์ กรุป และการคำนวณจะเป็นสัญลักษณ์ และตัวแปร เช่น f,x,A,aij,V, v,G,g ค่าของมันอาจจะไม่เคยกล่าวถึง เช่น เราจะไม่เห็นปัญหา กำหนด f(x) = 3x จงหาค่า f(1) แต่จะเห็นปัญหาในลักษณะนี้คือ กำหนดให้ f: D -> R เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง และนิยาม ฟังก์ชัน |f|(x) = |f(x)| สำหรับ x ใน D จงแสดงว่า |f|: D -> R เป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง
จุดประสงค์ของการทำให้เป็นนามธรรมคือ เพื่อทำให้ผลที่ได้อยู่ในรูปทั่วไปและ นำไปประยุกต์ใช้กับหลายปัญหาได้ เช่น เราทราบว่ารากของสมการ ax^2+bx+c=0 เมื่อ a ไม่เท่ากับ 0 คือ x = (-b +- sqrt(b^2-4ac))/2a สามารถนำผลนี้ไปหาค่ารากเมื่อ a, b, c เป็นจำนวนใดๆ ได้ และการใช้ความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อที่จะย้ำว่าผลที่เราได้นั้นถูกต้อง และเราเข้าใจเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ
ทั้งการเรียนในห้องและในหนังสือจะประกอบไปด้วย ทฤษฎีบทและการพิสูจน์เป็นส่วนใหญ่
วิธีที่ดีที่จะทำให้เข้าใจทฤษฎีบทคือต้องลองทำตามความคิดนั้น เช่น เมื่ออ่านทฤษฎีบท จากหนังสือ ให้ลองทำสิ่งต่อไปนี้
ในวิชาระดับ 100-200 อาจจะใช้แค่ทักษะการแก้ปัญหา แต่วิชาในระดับ 300-400 จะศึกษาทฤษฎีบทมากขึ้น
คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และ คณิตศาสตร์ประยุกต์
ความแตกต่างระหว่างคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ อยู่ที่แรงจูงใจของการแก้ปัญหา สาขาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ ทำงานเพื่อจะตอบคำถามที่เกิดขึ้นในทางคณิตศาสตร์ แต่ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ จะตอบคำถามที่เกิดขึ้นในสาขาอื่น เช่น ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี เศรษฐศาสตร์ เช่น สมการเชิงอนุพันธ์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในฟิสิกส์ แต่การแก้ปัญหานี้ก่อให้เกิดทฤษฎีบทใหม่มากมายในทางคณิตศาสตร์
เราไม่สามารถแบ่งคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และประยุกต์ ออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิงและชัดเจน การเรียนในภาควิชาของเรา นักศึกษาจึงไม่เห็นการแบ่งอย่างชัดเจนในสองสาขานี้ นั่นคือจะไม่มีวิชาใดถูกเรียกว่า คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ หรือประยุกต์ ทุกวิชามีเนื้อหาเป็นคณิตศาสตร์ บางวิชาอาจมีความเป็นนามธรรมมากกว่าบางวิชาเท่านั้นเอง
การแก้ปัญหาหนึ่งอาจมองเป็น คณิตศาสตร์บริสุทธิ์หรือประยุกต์ก็ได้ ด้านบริสุทธิ์ จะพยายามตอบคำถามในลักษณะที่จะก่อให้เกิดทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ใหม่ ๆ เช่น ปัญหานี้สัมพันธ์อย่างไรกับคณิตศาสตร์สาขาอื่นๆที่มีอยู่อย่างไร เมื่อแก้ปัญหานี้ได้จะสามารถทำให้อยู่ในรูปทั่วไปได้หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีบทใหม่ ส่วนคณิตศาสตร์ประยุกต์จะสนใจที่จะตอบคำถามลักษณะที่จะช่วยอธิบายปัญหาที่มีทางกายภาพ เช่น รูปแบบคำตอบที่หาได้นี้นำไปใช้อะไรได้ เทคนิคการหาคำตอบแบบนี้มีประโยชน์หรือไม่
นักศึกษาที่ไม่ชอบเรื่องที่เป็นนามธรรมและการพิสูจน์ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเลือก คณิตศาสตร์เป็นวิชาเอก
การเลือกเรียนคณิตศาสตร์ประยุกต์ เพราะคิดว่าจะได้ใช้เพียงแค่ ทักษะการแก้ปัญหาเหมือนตอนเรียนมัธยม หรือตอนเรียนแคลคูลัสนั้นเป็นความคิดที่จะทำให้ผิดหวังอย่างแรงได้ เหตุผลดังอธิบายข้างต้น
ได้อะไรจากการเรียนคณิตศาสตร์
เรามีความคาดหวังว่านักศึกษาที่ได้รับปริญญา B.S. (mathematics) ควรมีสิ่งต่อไปนี้
ทำอะไรได้กับปริญญาตรีคณิตศาสตร์
ทำไมจึงควรเลือกวิชาเอกคณิตศาสตร์ ?
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สนุกสนาน สวยงาม และท้าทาย เป็นวิชาที่เป็นเหตุเป็นผลและสร้างสรรค์ มีความน่าสนใจและสามารถนำไปใช้กับวิชาอื่นๆ เมื่อรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น จะเห็นว่าตรรกะของทฤษฎีบทและการพิสูจน์ มีความสวยงาม คณิตศาสตร์ค้นหาความจริงที่เป็นนิรันดร์ เมื่อพิสูจน์แล้วว่าสิ่งนี้เป็นจริง จะไม่มีทางเป็นเท็จได้
ใครควรเลือกเรียนคณิตศาสตร์?
คนที่ชอบคณิตศาสตร์ ทำได้ดี มีความกระตือรือร้น สนใจ ใฝ่รู้ ชอบที่จะขบคิดปัญหาที่ท้าทาย