เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม
(MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ประกาศห้องสอบ วันเวลาที่สอบ และสิ่งที่อนุญาตให้นำเข้าห้องสอบได้ด้านล่าง
ดูคะแนนเก็บ 70% พร้อมกราฟแสดงการกระจายตัวของคะแนน
ชื่อกระบวนวิชา: คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ผู้สอน:
อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
ห้องพัก:
CB 2224 (ตึกเคมี
2 ชั้น 2)
โทรศัพท์:
(053) 94-3336 ต่อ 102
อีเมล์: swaew0[at]yahoo.com
Facebook: Siriwan Waew
ผู้สอน: อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
ห้องพัก: MB 2304 (ตึกคณิตศาสตร์ ชั้น 3)
โทรศัพท์: (053) 94-3327 ต่อ 127
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com
Facebook: Atichart Kettapun
เว็บไซต์: www.atichart.com
Facebook Group ของรายวิชา: 201117 1/2557
วันเวลาที่สอน:
อังคารและศุกร์ เวลา 11.00-12.30
น. ห้อง RB5201
Office Hours:
นักศึกษาสามารถนัดพบนอกเวลาสอนได้เสมอ
สัดส่วนการให้คะแนน:
สอบกลางภาค 30%
สอบปลายภาค 30%
รายงาน/ผลงาน 30%
การสอบย่อย 10%
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์: วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 11.10-12.30 น. นัดเจอกันที่ลานเจดีย์ วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม
สอบกลางภาคสอบกลางภาค: วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 12.00-15.00 น. ณ ห้อง RB3302 (ใครไม่ใส่ชุดนักศึกษามาสอบ อาจไม่อนุญาตให้เข้าสอบ แต่หากอนุโลมให้เข้าสอบได้ก็จะมีการหักคะแนนสอบ) สำหรับนักศึกษาที่สอบในเวลา 15.30-18.30 น. จะสอบที่ห้อง MB2111 ตึกคณิตศาสตร์นะครับ
สอบปลายภาค: วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 15.30-18.30 น. ณ ห้อง RB5101 / เนื้อหาทุกเรื่องที่สอนสามารถออกข้อสอบได้ แต่ในส่วนของวัดอุโมงค์จะออกสอบเฉพาะในส่วนของคณิตศาสตร์เท่านั้น ส่วนเรื่องพระธาตุหัวกลับไม่ออกสอบ / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ / ให้ นศ. เตรียมดินสอ 2B ยางลบ เครื่องคิดเลขธรรมดา สำหรับการสอบด้วย (ห้ามใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์)
ประกาศคะแนน: ไฟล์คะแนนเก็บทั้งหมด 70% และ ไฟล์สรุปคะแนนเก็บทั้งหมด (ประกาศวันที่ 26 พ.ย. 57) - หากพบข้อผิดพลาดให้แจ้งอาจารย์ทราบภายในวันศุกร์ที่ 28 พ.ย. 57
แหล่งข้อมูลประกอบการเรียนการสอน :
1) เอกสารทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนวิชา
รายละเอียดกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
ข้อตกลงกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
การทำรายงานหรือผลงาน กระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF) - ปรับปรุงวันที่ 19 ส.ค. 57
ไฟล์สำหรับกรอกรายชื่อสมาชิกในกลุ่มและข้อมูลการทำรายงานหรือผลงาน (ไฟล์ PDF, ไฟล์ Excel)
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2555
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการสอบของนักศึกษา พ.ศ.2554
2) เอกสารประกอบการสอน
การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยในมิติคณิตศาสตร์ - เนื้อหาทั้งหมดสามารถออกสอบกลางภาคได้
บทความ "เสาหลักเมืองแทนทฤษฏีพิทากอรัสได้อย่างไร" - อ่านเสริมสำหรับคนที่ต้องการศึกษาที่มาของการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง
The Existing Suvannaphum at Wat Pra Yeun - บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่ออธิบายการใช้ศาสนสถานเพื่อจัดทำปฏิทิน เหมาะสำหรับอ่านเสริมเฉพาะคนที่สนใจการนำเสนอทางวิชาการที่ลึกซึ้ง
โปรแกรมประเสริฐ V.5.93 โดย อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง - เป็นปฏิทิน 5000 ปี (ฝรั่ง ไทย จีน แขก และดาราศาสตร์) ง่ายต่อการพิมพ์ลงกระดาษกดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
โปรแกรม ปฏิทินพระจอมเกล้า V.1.53 โดย อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง- แบบปักขคณา(ร.๔) และฤกษคณนา(ล.ช.) ผลการคำนวณจะได้ วันเดือนปี ตามปฏิทินพระจอมเกล้าฯ ซึ่งละเอียด และแม่นยำกว่าปฏิทินหลวง แบบราชการ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
3) วีดีทัศน์ประกอบการสอน และลิงค์น่าสนใจ
26 ส.ค. 57 1.David Christian: The history of our world in 18 minutes
26 ส.ค. 57 3.History Timeline Song Video with Music Only - Classical Conversations
29 ส.ค. 57 2.Ancient Writing
29 ส.ค. 57 3.Ancient wonders captured in 3D
29 ส.ค. 57 4.Fibre to Fabric
29 ส.ค. 57 5.Fibre to Fabric 2
2 ก.ย. 57 1.The secret lives of paintings
5 ก.ย. 57 1.Ancient Marine Archaeology
5 ก.ย. 57 2.With Captain Sailors Three (Part 1)
5 ก.ย. 57 3.With Captain Sailors Three (Part 2)
5 ก.ย. 57 4.การขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ
9 ก.ย. 57 1.The Story of Money
9 ก.ย. 57 2.A Brief History of Money
9 ก.ย. 57 3.LaunchPad: Coin Production in the Ancient Greek World
16 ก.ย. 57 1.Tracking ancient diseases using ... plaque
16 ก.ย. 57 2.LaunchPad: Silversmithing, Part 1Sculpting in Wax
16 ก.ย. 57 4.LaunchPad: Silversmithing, Part 3Casting Silver
16 ก.ย. 57 5.LaunchPad: Silversmithing, Part 4Hammering the Stand
16 ก.ย. 57 6.การบูรณะปราสาทพิมาย (ฉบับการ์ตูน)
23 ก.ย. 57 สไลด์นำเสนอ และวีดีทัศน์ เรื่อง "ความลึกลับของพระธาตุหัวกลับ" โดยดูที่หัวข้อ "เอกสารแนะนำการจัดกิจกรรมสำหรับครู"
26 ก.ย. 57 1.LaunchPad: Ancient Greek Vase Production and the Black-Figure Technique
26 ก.ย. 57 2.LaunchPad: Conserving Ancient and Byzantine Art at the Art Institute of Chicago
30 ก.ย. 57 30 ก.ย. 57 1.เทคนิคการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทประติมากรรมหิน
4) ตัวอย่างรายงานหรือผลงานสำหรับวิชา 201117
รายงานเรื่อง "กฏหมายในมิติคณิตศาสตร์" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556
วีดีทัศน์ "Greek Fire" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
วีดีทัศน์ "สมการคณิตศาสตร์กับการตัดเย็บจีวร" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
กิจกรรมการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมที่นำไปสอนนักเรียน หรือ/และ นักศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมถอดรหัสตัวเลขในฤกษ์ก่อสร้าง ดูตัวอย่างงานที่ทำเสร็จแล้วหลายเรื่องได้ที่ http://www.atichart.com/Hist_Math_Project.htm, http://math.science.cmu.ac.th/ams/HistSciProject.htm, http://www.atichart.com/Integrated_Math_Sci_for_Lanna.htm
5) เอกสารอ้างอิงในกระบวนวิชานี้
ลอย ชุนพงษ์ทอง, ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, รัฐยาการพิมพ์, 2550.
สมัย ยอดอินท์ และคณะ, งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555, พิมพ์ครั้งที่ 1, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
สมัย ยอดอินทร์ และมัลลิกา ถาวรอธิวาสน์, ภาพรวมของคณิตศาสตร์, ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
วินัย พงศ์ศรีเพียร, วันวาร กาลเวลา และนานาศักราช, พิมพ์ครั้งที่ 2, ศักดิโสภณการพิมพ์, 2552.
ประมวล เพ็งจันทร์ และชัชวาล บุญปัน, สังขยาปกาสกฎีกา อุปกรณ์แห่งการหยั่งรู้ถึงความจริงจากโลกวิทยาศาสตร์พุทธศาสนา, บทความ, 2543.
โทนี่ คริลลี่, 20 คำถามสำคัญของคณิตศาสตร์. The Big Questions : Mathematics. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.
Robert Blitzer, Thinking Mathematically, 3rd ed., Pearson Education, 2005.
Goffer, Zvi, Archaeological Chemistry, v.55, New York, John Wiley & Sons, Inc., 1980.
Pollard, A.M., et al, Analytical chemistry in archaeology, Cambridge, New York: Cambridge University Press, 2007.
5) ความรู้เพิ่มเติม
ห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์ โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์ โดย ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
โครงการบูรณาการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ล้านนา โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ และ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
การนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) โดยทีมงานวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานของนักศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 :
ในกระบวนวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (201117) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้นักศึกษาสร้างผลงาน (project) ที่นำเสนอถึงการนำคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาเกี่ยวกับอายรยธรรมระดับท้องถิ่น ประเทศ หรือโลก โดยสามารถนำเสนอในรูปแบบของ รายงาน วีดีทัศน์ แบบจำลอง กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เกม งานวิจัย หรือในรูปแบบอื่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้เลือกสร้างผลงานที่ตนเองสนใจ และผลงานนั้นต้องคิดหรือจัดทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีจำกัดกรอบในการคิดจึงได้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจจำนวนมากในหลากหลายรูปแบบ และในการจัดทำผลงานยังพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และภูมิใจกับผลงานที่ถูกนำมาเสนอในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก ในปีการศึกษานี้ผู้สอนได้กำหนดให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานผ่านวีดีทัศน์(ยกเว้นเฉพาะกลุ่มที่จัดทำวีดีทัศน์) ผู้สอนจึงนำผลงานบางส่วนมาแสดงให้นักศึกษาที่เรียนและผู้สนใจทั่วไปให้ได้รับชมในเว็บไซต์นี้
กลุ่ม 4 Umong Simulator (แบบจำลอง 3D วัดอุโมงค์)
แบบจำลอง 3D นี้ได้พัฒนาจากโปรแกรมสร้างเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ชมได้เข้าชมอุโมงค์ในวัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม ได้ด้วยตนเอง บางอุโมงค์ได้นำภาพที่มีสีสันไปใส่ให้ชม จะได้ทราบบรรยากาศของอุโมงค์เมื่อ 500-600 ปีก่อน และยังมีข้อมูลเกียวกับอุโมงค์ ภาพเขียน สีที่ใช้เขียนภาพ ให้คลิกเพื่อเปิดอ่านได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมนี้ออนไลน์จากลิงค์ที่กำหนดให้ได้ด้านล่าง
คลิกเล่น Umong Simulator ออนไลน์ ได้ที่ http://bit.ly/UmongSimu
วีดีทัศน์นำเสนอ แบบจำลอง 3D เรื่อง "Umong Simulator"
กลุ่ม 7 ห้องแห่งความลับ (แบบจำลอง, รายงาน)
ผลงานชิ้นนี้เป็นการจัดทำรายงานและแบบจำลองเพื่ออธิบายว่า ปรากฏการณ์พระธาตุกลับหัวซึ่งพบเฉพาะที่วัดในจังหวัดลำปางนั้น ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยได้มีการจัดทำวีดีทัศน์เพื่อนำเสนอผลงานนี้ด้วย
วีดีทัศน์นำเสนอรายงานและแบบจำลอง เรื่อง "ห้องแห่งความลับ"
แบบจำลอง "ห้องแห่งความลับ"
กลุ่ม 10 มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์ (แบบจำลอง, กิจกกรรมการเรียนรู้)
แท่งเนเปียร์เป็นอุปกรณ์การคำนวณที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยในการคูณและหารเลขได้อย่างรวดเร็ว ในการนำเสนอวีดีทัศน์ได้แสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของแท่งเนเปียร์รวมถึงการนำมาใช้ในการคูณและการหารได้เป็นอย่างดี ส่วนแบบจำลองก็ทำให้ผู้ชมสามารถนำคำนวณเลขได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้มีคู่มือแนะนำการใช้งานและแบบฝึกหัดพร้อมเฉลยเพิ่มเข้ามาด้วย
วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์"
แบบจำลอง "มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์"
กลุ่ม 11 ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู (แบบจำลอง)
แบบจำลองนี้เน้นอธิบายปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะเกิดขึ้น 4 ครั้งต่อปี โดยสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่าย และยังทำให้เข้าใจด้วยว่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันสามารถเกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ได้หรือไม่ อะไรคือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้
วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู"
แบบจำลอง "มหัศจรรย์แสงลอดช่องเขาพนมรุ้ง"
กลุ่ม 5 ความลับของสะพานหิน (แบบจำลอง)
ผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างแบบจำลองสำหรับให้ศึกษาหลักการสร้างสะพานหินโค้ง โดยผู้ชมสามารถสร้างสะพานหินโค้งจำลองได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ได้มีการสร้างวีดีทัศน์นำเสนอเรื่องสะพานหินโค้งจำลองและได้อธิบายถึงสะพานชนิดอื่นๆ อีกด้วย ผู้สนใจสามารถดาวโหลดเอกสารเรื่องการสร้างแบบจำลองรวมถึงข้อมูลสะพานแบบอื่นๆ ไปศึกษาได้อีกด้วย
วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "ความลับของสะพานหิน"
แบบจำลอง "ความลับของสะพานหิน"
กลุ่ม 9 Harmonize bricks (รายงาน)
ข้อมูลรายงานรวมถึงวีดีทัศน์นำเสนอในผลงานนี้ ได้ทำให้ผู้ชมได้เห็นถึง การศึกษาการเรียงตัวของอิฐ วัสดุเชื่อมประสานอิฐ คุณสมบัติของอิฐ และการทำอิฐในหลายวัฒนธรรม เช่น ในอียิปต์ ทวีปเอเชียและไทย และทวีปยุโรป
คลิกชมวีดีทัศน์เรื่อง "Hamonize Bricks" คือ วีดีทัศน์ตัวใหม่ และวีดีทัศน์ตัวเก่า
วีดีทัศน์นำเสนอรายงานผ่าน Power Point เรื่อง "Harmonize Bricks"
ความประทับใจของผู้เรียน :
เมื่อได้เรียนวิชานี้รู้สึกชอบมาก
เพราะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเราแต่เราไม่เคยรู้มาก่อน อาจารย์สอนสนุก
มีวีดีโอให้ดูประกอบการสอน และได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของยุคต่างๆ
ที่ไม่เคยรู้มาก่อนอีกด้วย สนุกสนานและตื่นเต้นดีค่ะ
นางสาวรัตติกาล ศรีวิชัย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ชั้นปีที่ 2
เนื้อหาวิชาน่าสนใจ เนื้อหาเข้าใจง่าย เป็นการนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มาอธิบายให้เหตุผลกับประวัติศาสตร์บางอย่างที่เราคิดว่าเป็นเรื่องจริงเหนือธรรมชาติ
ถือเป็นวิชาที่ดี และน่ามาเรียน / อาจารย์สอนสนุก ทำให้การเรียนสนุกสนาน
และมีความสุข / อยากแนะนำเพื่อนมาเรียน เพราะเป็นวิชาที่มีประโยชน์
ทำให้เรามีความรู้ในเรื่องที่คนอื่นอาจไม่รู้
และความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
นางสาวพณิดา โตยะบุตร นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 2
จุดเด่นของวิชานี้คือการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมซึ่งแตกต่างจากวิชาอื่น
การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนมากในคนรุ่นหลัง
เพราะจะทำให้เข้าใจความเป็นอยู่และวัฒนธรรมในสมัยนั้นๆ
และเข้าใจการสร้างหลักการสำคัญต่างๆ
เห็นถึงวิวัฒนาการของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ทำให้วิชาที่มีคุณค่าแก่คนรุ่นหลังอย่างวิชานี้ต้องคงไว้เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นๆ
นางสาวณัฐธีวรรณ ดวงจินดา นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
ชั้นปีที่ 1
จุดเด่น ก็คือการได้เรียนในอารยธรรมเริ่มต้นของในทุกๆ เรื่อง เพราะวิชาอื่นๆ
ไม่ได้เริ่มเรียนจากเรื่องพื้นฐานง่ายๆ แบบวิชานี้ บางทีอาจารย์ก็สอนในเรื่องง่ายๆ
ที่เรามองข้าม ข้อสอบไม่ยาก ไม่ออกนอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
และจุดเด่นอีกหนึ่งอันก็คือ ได้ไปทัศนศึกษาที่วัดอุโมงค์ พร้อมมีวิทยากร
นางสาวปัญญาพร ราชเครือ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 2
จุดเด่นของวิชานี้คือ ได้ทำงานที่สร้างสรรค์ ต้องคิดขึ้นมาเอง
ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำออกมาให้ดี เพราะให้คะแนนถึง 30 คะแนน อาจารย์อติชาตสอนสนุก
มีความตั้งใจสอนดี และมีพลังในการสอน ทำให้มีความตื่นเต้นในการเรียน
และยังได้ไปดูวัดอุโมงค์ของจริงอีกด้วย
นางสาวทีปภา ปริญญาณัฏฐ์
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ คือ
การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมความเป็นมาของวัดอุโมงค์
เพราะน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความเป็นมาและความงดงามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา
แต่หากเราได้ศึกษาเรื่องนี้เราก็จะได้ทราบความเป็นมาและลวดลายที่หายไป
เมื่อเราไปวัดอุโมงค์เราก็จะทราบถึงความเป็นมา และมองได้เห็นลวดลายที่หายไป
และสามารถอธิบายและบอกต่อคนที่ไม่ทราบได้ด้วย
นางสาวแพรวไหมคำ
เชื้อเจ็ดตน นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 2
สอนในสิ่งที่วิชาอื่นไม่มีสอน
การประยุกต์ประวัติศาสตร์ว่าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร สอนการดูปฏิทินจันทรคติ
พาออกไปดูสถานที่จริง การนำวีดีโอมาประกอบการสอนมีความน่าสนใจ
เข้าใจที่มาของสิ่งต่างๆ และประวัติศาสตร์หลายอย่าง /
หลายเรื่องช่วยให้เรานำไปใช้จริง เช่น การดูพระจันทร์ การบวกลบเลขฐานต่างๆ
พาออกไปดูสถานที่จริง อาจารย์สอนสนุก วีดีโอน่าสนใจสนุกมากค่ะ
นางสาวพรวิสา ชอบชน นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 2
จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ ข้าพเจ้าคิดว่าคือ วิธีการสอนของอาจารย์
และสื่อการสอนต่างๆ ที่อาจารย์นำมาสอน
รวมทั้งเนื้อหาของกระบวนวิชาที่อาจารย์นำมาสอนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ที่อย่างคิดไม่ถึง
ได้รับรู้ถึงกระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ในอดีตและปัจจุบันมากขึ้น
ซึ่งทำให้สนุกกับการเรียนการสอนมาก
นางสาวสุชาดา นฤทัย
นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 2
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องลองเปิดใจ และลงทะเบียนเข้ามาเรียน
ซึ่งวิชานี้มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ มีการนำสาขาวิชาในหลายๆ
ด้านมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ
เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนอธิบายและยกตัวอย่าให้เห็นภาพชัดเจน อาจารย์สอนสนุก
มีคลิปวีดีโอให้ดู
นางสาวพัชราภรณ์ ชมพิกุล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชาวิศวกรรมเหมือแร่และปิโตรเลียม ชั้นปีที่ 2
จุดเด่นของวิชานี้คือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันทั่วไปแต่มันยังคงมีสิ่งที่เราไม่รู้
และมีความรู้ซ่อนอยู่ ทำให้เราทราบถึงความรู้ใหม่
และความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นจากความเชื่อหรือความคิดที่ผิด
และจุดเด่นก็คือการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ วิทยาศาสตร์
มาเกี่ยวข้องกันด้วยอย่างลงตัว / ประโยชน์ของการเรียนวิชานี้
ทำให้ทราบถึงสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อก่อนเรามองข้ามความรู้พวกนี้ไป
เมื่อได้มาเรียนวิชานี้แล้วทำให้เข้าใจได้มากขึ้น และเป็นองค์ความรู้ใหม่
ที่เราควรรู้อย่างยิ่ง และก็การเรียนก็ไม่ได้เรียนแบบเคร่งเครียดย้ำให้จำ
แต่เป็นการเรียนที่เน้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ เป็นการเรียนรู้ที่สนุกอย่างหนึ่งค่ะ
นางสาวธัญญเรศ จิตนาน นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
ชั้นปีที่ 1