เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม
(MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ภาคเรียนฤดูร้อน (ภาคเรียนที่ 3) ปีการศึกษา 2556
ดูคะแนนเก็บ 65% ได้จากลิงค์ด้านล่าง หากพบข้อผิดพลาดในการทำ Quiz ต้องแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบภายในวันที่ 8 พ.ค. 57
ดูผลงานของนักศึกษาที่คัดเลือกมาได้จากด้านล่าง
ชื่อกระบวนวิชา: คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ผู้สอน: อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
ห้องพัก: MB 2304 (ตึกคณิตศาสตร์ ชั้น 3)
โทรศัพท์: (053) 94-3327 ต่อ 127
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com
Facebook: Atichart Kettapun
เว็บไซต์: www.atichart.com
ผู้สอน:
อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
ห้องพัก:
CB 2224 (ตึกเคมี
2 ชั้น 2)
โทรศัพท์:
(053) 94-3336 ต่อ 102
อีเมล์: swaew0[at]yahoo.com
Facebook: Siriwan Waew
Facebook Group ของรายวิชา: 201117 3/2556
วันเวลาที่สอน:
จันทร์และพฤหัสบดี เวลา 11.00-12.30 น. ห้อง SCB
1100
(ตึก 30 ปีคณะวิทยาศาสตร์)
Office Hours:
นักศึกษาสามารถนัดพบนอกเวลาสอนได้เสมอ
สัดส่วนการให้คะแนน:
สอบกลางภาค 35%
สอบปลายภาค 35%
การสอบย่อย 15%
รายงาน 15%
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์: วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2557 เวลา 13.00-16.00 น. นัดเจอกันที่ลานเจดีย์ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
สอบกลางภาคสอบกลางภาค: วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2557 เวลา 11.00-13.00 น. / เนื้อหาทุกเรื่องที่สอนสามารถออกข้อสอบได้ แต่ในส่วนของวัดอุโมงค์จะออกสอบเฉพาะในส่วนของคณิตศาสตร์เท่านั้น / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ / ให้ นศ. เตรียมดินสอ 2B ยางลบ เครื่องคิดเลขธรรมดา สำหรับการสอบด้วย
ห้องสอบกลางภาค: (อิงลำดับที่ในใบเซ็นชื่อที่มี 299 คน เราจะไม่ใช้ลำดับที่ปัจจุบันของสำนักทะเบียน)
(1) SCB2100 ลำดับที่ 1-179 รหัสนักศึกษา 520610496-561010142
(2) SCB1100 ลำดับที่ 180-299 รหัสนักศึกษา 561010148-562110158
สอบปลายภาค: วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2557 เวลา 15.30-18.30 น. / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ
ห้องสอบปลายภาค: เหมือนกับการสอนกลางภาคทุกประการ นั่นคือ นักศึกษาสอบห้องเดิมที่เคยสอบ / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ
ชื่อเรื่องและลักษณะรายงาน/ผลงานรายกลุ่ม: ไฟล์ชื่อเรื่อง 43 กลุ่ม (วันที่ 12 เม.ย. 57)
ประกาศคะแนน: ไฟล์คะแนน (วันที่ 8 พ.ค. 57) - หากพบข้อผิดพลาดให้แจ้งอาจารย์ภายในวันที่ 9 พ.ค. 57
ผลงานของนักศึกษา :
ในกระบวนวิชา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (201117) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้นักศึกษาสร้างผลงาน (project) ที่นำเสนอถึงการนำคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาเกี่ยวกับอายรยธรรมระดับท้องถิ่น ประเทศ หรือโลก โดยสามารถนำเสนอในรูปแบบของ รายงาน วีดีทัศน์ แบบจำลอง กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เกม หรือในรูปแบบอื่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้เลือกสร้างผลงานที่ตนเองสนใจ และผลงานนั้นต้องคิดหรือจัดทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีจำกัดกรอบในการคิดจึงได้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจจำนวนมากในหลากหลายรูปแบบ และในการจัดทำผลงานยังพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และภูมิใจกับผลงานที่ถูกนำมาเสนอในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก ผู้สอนจึงนำผลงานบางส่วนมาแสดงให้นักศึกษาที่เรียนและผู้สนใจทั่วไปให้ได้รับชมในเว็บไซต์นี้
กลุ่ม 20 Math and Sci Millionaire [เกม] |
|
กลุ่ม 4 ไขปริศนาลับฉบับพีระมิด [แบบจำลอง และหนังสือ] |
|
กลุ่ม 23 ภูมิปัญญาแห่งสายน้ำ [แบบจำลอง] |
|
กลุ่ม 3 Number - Puzzle [กิจกรรมการเรียนรู้] |
|
กลุ่ม7 ชีเชนอิตซา กับความฉลาดทางดาราศาสตร์ของชาวมายัน [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 12 ตัวเลขทำนายชีวิต [แบบจำลอง] |
|
กลุ่ม 19 แบบจำลองเมืองเชียงใหม่ [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 22 ดาราศาสตร์กับหินประหลาด ณ ทุ่งซัลลิสเบอรี่ [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 25 มหัศจรรย์ยันต์โทนพุทธคุณ กับวีดีทัศน์แสนสนุก [สติ๊กเกอร์ มาคู่กับวีดีทัศน์] |
กลุ่ม 29 ติ๋ง ติ๋ง บอกเวลา [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 35 Goseck cycle [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 36 การนับศักราชกับประวัติศาสตร์ไทย [กิจกรรมการเรียนรู้] |
|
กลุ่ม 40 Fibonacci gauge [แบบจำลอง] |
กลุ่ม 41 สามเหลี่ยมปาสคาล (Pascal's Triangle) [แบบจำลอง] |
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม :
ความประทับใจของผู้เรียนต่อกระบวนวิชานี้ :
เป็นกระบวนวิชาที่บูรณาการความรู้ได้เด่นชัดที่สุดตั้งแต่เจอมา
เพราะเคยคิดว่ามันจะบูรณาการได้ยังไงระหว่าง Math & Sci กับอารยธรรม
จนในที่สุดก็ได้รู้ จุดเด่นคือ โยงเนื้อหาคณิต วิทย์ มาบูรณาการได้เต็มๆ ชัดเจน
(บางวิชาบอกว่าบูรณาการ แต่ก็ดูเหมือนไม่บูรณาการ แต่พอเจอวิชานี้ ชอบเลย รักเลย)
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
การสอนให้รู้จักการคิดด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการสอน ทั้งยังพาไปศึกษาในสถานที่จริง
ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนเป็นไปอย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
และได้มุมมองใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงภาคภูมิใจในความเป็นไทย
นอกจากนี้ด้านเนื้อหายังมีความแปลกใหม่ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมาย
อีกทั้งบางครั้งยังมีการเชิญบุคลาการที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ถึงที่
ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ยากที่จะได้เจอแบบนี้
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
อยากให้เพื่อนๆ มาเรียน เพราะเรื่องมันสนุกมากๆ
มันน่าเรียนจริงๆ ไม่เคยเรียนแบบนี้มาก่อน
มันทำให้เห็นประโยชน์ของวิชาที่เคยเรียนมา มันแหวกแนวจากทุกๆ
วิชาที่เคยเรียนมาในชีวิต เป็นวิชาที่มาเรียนเพราะอยากรู้จริงๆ
ไม่ใช่มาเพราะอยากได้ A สนุกจริงๆ ค่ะ
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
การได้เห็นความรู้ที่แปลกใหม่ ที่ไม่มีใครสอนนอกจากมหาวิทยาลัยเรา เป็นวิชาที่ดี
แสดงถึงความใส่ใจของอาจารย์ในอารยธรรมที่อาจมีคนละเลย ทำให้
นศ.เริ่มรู้สึกใส่ใจกับสิ่งรอบข้าง และสนใจความรู้เกี่ยวกับอารยธรรม
และประวัติศาสตร์มากขึ้น อาจารย์มีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ยุติธรรม
และใช้สื่อเทคโนโลยีอินเตอร์เนตแจ้งข่าวต่างๆ กับ นศ.ได้ดี รวดเร็ว
จะใส่ใจกับการสอน นศ.มากๆ
นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
อยากให้ นศ. คนอื่นๆ ได้เรียนวิชานี้ เป็น 1 ในตัวฟรีของมหาลัยที่ต้องลง
เพราะปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์หรืออารยธรรมที่มีคุณค่า
เนื่องจากอาจเห็นว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ
แต่วิชานี้สามารถนำวิทยาศาสตร์และก็คณิตศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กับอารยธรรม
ให้กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และทำให้เกิดความอยากรู้
ท้ายที่สุดแล้ววิชานี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่บรรพบุรุษได้สรรสร้างขึ้น
นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์
กระบวนวิชานี้มีจุดเด่นคือ
เนื้อหาที่เรียนสามารถเข้าใจง่าย
และไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนวิทย์-คณิตมา
ซึ่งดีมากเพราะว่าทำให้นักศึกษาทุกคนมีโอกาสที่จะได้เรียนเท่าเทียมกันทุกคน
และวิชานี้มีงานให้ทำ 1 ชิ้น ซึ่งงานชิ้นนี้ต้องใช้ทักษะมากมายในการทำ เช่น
การคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
มาเพื่อนำมาแลกเปลี่นนกับเพื่อนในเซค
นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์
พาร์ทแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บูรณาการกับประวัติศาสตร์
ทำให้มองเห็นถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่มีอยู่รอบตัว มันดูน่าทึ่ง
และประหลาดใจมากค่ะ และเรื่องที่เกี่ยวกับวัดอุโมงค์ชอบมากๆ
อยากให้อาจารย์มีการสอนต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ และอยากให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่อื่นๆ
ด้วย อาจารย์ทำให้คนที่ไม่ชอบเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
หันมาสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น และอาจารย์ใจดี
แต่ก็มีขอบเขตอยู่ในกฎระเบียบดีค่ะ ไม่ค่อยเจออาจารย์แบบนี้ ทำให้ตอนเรียนไม่เกร็ง
ไม่เบื่อ
นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์
อาจารย์อติชาตสอนได้อย่างกระตือรือร้นมาก ตลก และสนุกมาก /
ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง / ได้ฝึกการตรงต่อเวลา และการแต่งกายให้ถูกระเบียบ /
มีการใช้สื่อ Website ทำให้สามารถเข้าไปติดตามข่าวสาร
หรือทบทวนเนื้อหาบทเรียนที่เรียนไปแล้วได้ / ได้เรียนรู้เรื่องราวของชาติ
ของท้องถิ่น ที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน ช่วยอนุรักษ์เผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่ได้ทราบต่อไป
วันก่อนหนูได้ไปทัศนศึกษายังเทศบาลเมืองกาญจนบุรี
ก็ได้ไปเห็นดวงฤกษ์ในการก่อสร้างของล้านนา ก็ได้อธิบายให้พี่ๆ
ที่ไปด้วยกันให้เข้าใจ พี่ๆ ก็ถามว่าไปเรียนมาจากไหน ก็ตอบไปว่า
เรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวิชา 201117
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์
ชอบวิชานี้มากๆ ค่ะ เรียนวิชานี้แล้วรู้สึกมีความสุข
อยากมาเรียน ไม่น่าเบื่อ อาจารย์น่ารักมากๆ ความรู้และเรื่องราวต่างๆ
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ได้เห็นมุมมอง และความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนๆ ด้วย
ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ :-) บอกได้เลยค่ะ
ว่าวิชานี้ตั้งใจเรียนทุกคาบที่สุดกว่าทุกๆ วิชาเลยค่ะ
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
อยากให้คงเอกลักษณ์ของวิชานี้ต่อไปตลอด
เนื่องจากวิชานี้ทำให้เลิกเกลียดคณิตศาสตร์ในที่สุด
จากที่ตอนแรกแจ้งไปว่าไม่อยากให้มีอาจารย์คนอื่นมาสอนร่วม
แต่หลังจากได้เรียนกับอาจารย์ศิริวรรณ และฟังอาจารย์อีกท่านบรรยาย
รู้สึกโชคดีมากที่ได้มีโอกาสเรียนวิชานี้ รักอาจารย์ทั้งสามท่าน
นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์
จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ที่อยากให้คงไว้ คือ เนื้อหา และ การสอนที่สนุก
รวมทั้งการที่ให้นักศึกษาได้ทำรายงาน ได้คิดอะไรใหม่ๆ ด้วยตนเอง ไม่ให้ก๊อปคนอื่น
เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง
เสริมความคิดสร้างสรรค์ และฝึกการเรียนรู้ การสังเกตสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง /
จุดเด่นอีกจุดใน part 2 ก็คือ การที่ให้เรียนรู้จากวีดีโอ แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ
แต่ก็รู้สึกว่าทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และจดจำได้นานขึ้น / และในส่วนของข้อสอบ
มีความเหมาะสม ไม่ยาก ไม่ง่ายจนเกินไป
แต่สามารถทดสอบความเข้าใจในบทเรียนของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
ความสนุกสนาน และเป็นกันเองของอาจารย์
สอนเรื่องระเบียบวินัย และความประพฤติที่ควรทำ / เนื้อหาในการสอน ครึ่งของ อ.อติชาต
สนุกและเข้าใจง่าย เป็นเนื้อหาที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ / สื่อประกอบการเรียน
ดูเข้าใจง่าย และเนื้อหาพอเหมาะ / ความเอาใจใส่ของอาจารย์ ทั้งในกลุ่ม Facebook
ที่คอยเอาเรื่องที่เรียนมาลงเพื่อให้ทบทวน /
ความตั้งใจที่จะสอนของอาจารย์ที่ต้องการให้ทุกคนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ อ.
ต้องการจะสื่อ / การมีกิจกรรมตลอดระหว่างการเรียน ทำให้รู้สึกไม่เบื่อในการเรียน
และอยากมาเรียน
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
แหล่งข้อมูลประกอบการเรียนการสอน :
1) เอกสารทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนวิชา
รายละเอียดกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
ข้อตกลงกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
การทำรายงานหรือผลงาน กระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
ไฟล์กรอกรายชื่อผู้ทำผลงานแต่ละกลุ่ม (ไฟล์ Exel) ปรับใหม่ 3 เม.ย. 57
2) เอกสารประกอบการสอน
บทที่ 4 การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยในมิติคณิตศาสตร์ - เนื้อหาทั้งหมดสามารถออกสอบกลางภาคได้
บทที่ 4 บทความ "เสาหลักเมืองแทนทฤษฏีพิทากอรัสได้อย่างไร" - อ่านเสริมสำหรับคนที่ต้องการศึกษาที่มาของการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง
บทที่ 4 The Existing Suvannaphum at Wat Pra Yeun - บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่ออธิบายการใช้ศาสนสถานเพื่อจัดทำปฏิทิน เหมาะสำหรับอ่านเสริมเฉพาะคนที่สนใจการนำเสนอทางวิชาการที่ลึกซึ้ง
เทคนิคการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทประติมากรรม
บรรยายโดยนางจิราภรณ์ อรัณยนาค
นักวิทยาศาสตร์ ๙ ชช. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ กรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานโครงการการจัดการความรู้ด้านการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ (ฉบับสมบรูณ์) โดยกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร
3) วีดีทัศน์ประกอบการสอน และลิงค์น่าสนใจ
David Christian: The history of our world in 18 minutes ByTED วันที่ 22 เม.ย. 57 ลิงค์นี้ สามารถเปิดดูคำแปลเป็นไทย โดยกด view interactive transcript แล้วเลือกภาษาไทย ค่ะ
Timeline of World History: Pre-History-Meso-America. Silliman University. History 24-B. Prof. Pamate วันที่ 22 เม.ย. 57
Full Version History Timeline Song with Pictures & Subtitles (by Classical Conversations 2012) วันที่ 22 เม.ย. 57
Young explorers: a brief history of writing Bybritishmuseum วันที่ 23 เม.ย. 57
Ancient Writing ByABCTVCatalyst วันที่ 23 เม.ย. 57
Ben Kacyra: Ancient wonders captured in 3D วันที่ 23 เม.ย. 57 เลือก show transcript เป็นภาษาไทยได้นะคะ
Cyark ลิงค์น่าสนใจ วันที่ 23 เม.ย. 57
Ancientscripts.com ลิงค์น่าสนใจ วันที่ 23 เม.ย. 57
Maurizio Seracini: The secret lives of paintings วันที่ 24 เม.ย. 57
Recovering the Colors of Fossil Animals ByYaleCampus วันที่ 24 เม.ย. 57
Christina Warinner: Tracking ancient diseases using ... plaque วันที่ 24 เม.ย. 57
The Story of Money Bynigelkellaway วันที่ 25 เม.ย. 57
Young explorers: a brief history of money Bybritishmuseum วันที่ 25 เม.ย. 57
LaunchPad: Coin
Production in the Ancient Greek World ByArtInstituteChicago วันที่ 28
เม.ย. 57
LaunchPad: Ancient Greek
Vase Production and the Black-Figure Technique ByArtInstituteChicago
วันที่ 28 เม.ย. 57
Science - Fibre to Fabric - Fiber, Yarn and Fabric - English ByBodhaguruLearning วันที่ 28 เม.ย. 57
Science - Fibre to Fabric - What people wore in ancient times - English ByBodhaguruLearning วันที่ 28 เม.ย. 57
การอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ : ผ้าโบราณ วันที่ 28 เม.ย. 57
LaunchPad: Silversmithing, Part 1Sculpting in Wax ArtInstituteChicago 29 เม.ย. 57
LaunchPad: Silversmithing, Part 2Making Molds ArtInstituteChicago 29 เม.ย. 57
LaunchPad: Silversmithing, Part 3Casting Silver ArtInstituteChicago 29 เม.ย. 57
LaunchPad: Silversmithing, Part 4Hammering the Stand ArtInstituteChicago 29 เม.ย. 57
Ancient Marine Archaeology 29 เม.ย. 57
เทคนิคการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทประติมากรรม
บรรยายโดยนางจิราภรณ์ อรัณยนาค
นักวิทยาศาสตร์ ๙ ชช.
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 29 เม.ย. 57
LaunchPad: Conserving Ancient and Byzantine Art at the Art Institute of Chicago ByArtInstituteChicago 30 เม.ย. 57
สไลด์นำเสนอ และวีดีทัศน์ เรื่อง "ความลึกลับของพระธาตุหัวกลับ" โดยดูที่หัวข้อ "เอกสารแนะนำการจัดกิจกรรมสำหรับครู" 2 เม.ย. 57
LaunchPad: Conserving Ancient and Byzantine Art at the Art Institute of Chicago ByArtInstituteChicago 30 เม.ย. 57
การบูรณะปราสาทพิมาย (ฉบับการ์ตูน) Byritthikan attopakorn 7 พ.ค. 57
4) ตัวอย่างรายงานหรือผลงานสำหรับวิชา 201117
วีดีทัศน์ "Greek Fire" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
วีดีทัศน์ "สมการคณิตศาสตร์กับการตัดเย็บจีวร" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
กิจกรรมการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมที่นำไปสอนนักเรียน หรือ/และ นักศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมถอดรหัสตัวเลขในฤกษ์ก่อสร้าง ดูตัวอย่างงานที่ทำเสร็จแล้วหลายเรื่องได้ที่ http://www.atichart.com/Hist_Math_Project.htm, http://math.science.cmu.ac.th/ams/HistSciProject.htm, http://www.atichart.com/Integrated_Math_Sci_for_Lanna.htm
โมเดลและสื่อการนำเสนอ มีตัวอย่างผลงานของนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ด้านล่าง
นาฬิกาแดดขนาดเล็ก แบบจำลองหอเอนปิซา
สื่อนำเสนอโคลอสเซียม
5) เอกสารอ้างอิงในกระบวนวิชานี้
ลอย ชุนพงษ์ทอง, ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, รัฐยาการพิมพ์, 2550.
สมัย ยอดอินท์ และคณะ, งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555, พิมพ์ครั้งที่ 1, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
สมัย ยอดอินทร์ และมัลลิกา ถาวรอธิวาสน์, ภาพรวมของคณิตศาสตร์, ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
วินัย พงศ์ศรีเพียร, วันวาร กาลเวลา และนานาศักราช, พิมพ์ครั้งที่ 2, ศักดิโสภณการพิมพ์, 2552.
ประมวล เพ็งจันทร์ และชัชวาล บุญปัน, สังขยาปกาสกฎีกา อุปกรณ์แห่งการหยั่งรู้ถึงความจริงจากโลกวิทยาศาสตร์พุทธศาสนา, บทความ, 2543.
โทนี่ คริลลี่, 20 คำถามสำคัญของคณิตศาสตร์. The Big Questions : Mathematics.
กรุงเทพฯ :
มติชน, 2555.
Robert Blitzer, Thinking Mathematically, 3rd ed., Pearson Education, 2005.
Goffer, Zvi, Archaeological Chemistry, v.55, New York, John Wiley & Sons, Inc., 1980.
Pollard, A.M., et al, Analytical chemistry in archaeology, Cambridge, New
York: Cambridge
University Press, 2007.
5) ความรู้เพิ่มเติม
ห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์ โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์ โดย ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
โครงการบูรณาการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ล้านนา โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ และ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
การนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) โดยทีมงานวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อความประชาสัมพันธ์กระบวนวิชา :
สัมภาษณ์วิทยุ สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน FM.100 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 18 กันยายน 2556 และออกอากาศซ้ำ วันที่ 15 ตุลาคม 2556
ข่าวรอบสัปดาห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 22-29 ก.ย. 56
ตัวอย่างประเด็นและคำถามที่น่าสนใจ ที่สอนในกระบวนวิชา 201117
เรียนรู้หน่วยวัดในอดีต ที่ยังมีการใช้ถึงปัจจุบัน และใช้ศึกษาเรื่องราวที่มีการบันทึกไว้ในทางประวัติศาสตร์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
การนำองค์ความรู้คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างใช้มาสร้างกำแพงเชียงใหม่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำสูงกว่าวิธีที่ประเทศตะวันตกใช้ในสมัยก่อน
การใช้คณิตศาสตร์ศึกษาสิ่งก่อสร้างในโบราณ เช่น วิหารกรีก ปิรามิด และบ่อน้ำโบราณ เป็นต้น
รู้จักศักราชที่สำคัญ และการเทียบศักราชต่างๆ เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จุลศักราช มหาศักราช รัตนโกสินทร์ศก และ ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช เป็นต้น
ทำไมจึงมีการตัดสินใจที่น่าพิศวง โดยการลบวันที่ 5-14 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ออกจากปฏิทินสากล
ทำไมในปฏิทินราชการไทยจึงมีเดือนหายไป 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2484
ทำไมการเทียบ ค.ศ. และ พ.ศ. ไม่สามารถใช้สูตร พ.ศ. = ค.ศ. + 543 ทุกครั้ง และในกรณียกเว้นนั้นควรจะใช้สูตรใดแทน
ปัญหาในการสร้างปฏิทินในอดีตและอนาคตคืออะไร และเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร
ทำไมวันเพ็ญเดือน 12 ในบางปีพระจันทร์ถึงไม่เต็มดวง แต่พระจันทร์กลับไปเต็มดวงในวันอื่น
ทำไมวัดส่วนใหญ่จึงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเกี่ยวข้องกับการสร้างปฏิทินหรือไม่อย่างไร
การศึกษาความมหัศจรรย์ของจัตุรัสกลในอารยธรรมต่างๆ รวมถึงยันต์ล้านนา ซึ่งทำให้เข้าใจว่าคนสมัยก่อนมีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์มากเพียงใด
เราสามารถมองเห็นภาพร่างที่ซ่อนอยู่หลังภาพวาดของจิตกรเอกของโลกได้อย่างไร
เราจะสามารถคำนวณหาอายุวัดถุโบราณด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในการอนุรักษ์วัตถุโบราณเป็นอย่างไร
เราสามารถนำเอาวิทยาศาสตร์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร อาทิ เครื่องเขิน และกาวเม็ดมะขาม เป็นต้น
ปรากฏการณ์พระธาตุหัวกลับที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปาฏิหาริย์ หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์กันแน่ และเราสามารถสร้างพระธาตุหัวกลับเองได้หรือไม่
เราสร้างภาพจำลองเสมือนจริงของภาพจิตกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 500-600 ปีก่อนได้อย่างไร และมีการนำองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ มาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวัดอุโมงค์อย่างไร
มีการเชิญวิทยากรภายนอกที่เชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้
มีกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่
ฯลฯ