เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม
(MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
คะแนนเก็บ 65% อยู่ด้านล่าง และประกาศห้องสอบด้านล่าง
ขอนักศึกษาช่วยทำแบบประเมินการสอนออนไลน์ที่ http://mis.cmu.ac.th ให้ด้วยนะครับ โดยจะมีทั้ง การประเมินผู้สอนรายบุคคล
ลิงค์เอกสารและวีดีทัศน์ในส่วนวิทยาศาสตร์กับอารยธรรมอยู่ด้านล่าง
รายละเอียดการทำ Project หรือ Report อยู่ด้านล่าง
คะแนนสอบกลางภาคและคะแนนเก็บอยู่ด้านล่าง
ข้อตกลงกระบวนวิชา (ไฟล์ PDF)
รายละเอียดกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
ชื่อกระบวนวิชา: คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ผู้สอน: อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
ห้องพัก: MB 2304 (ตึกคณิตศาสตร์ ชั้น 3)
โทรศัพท์: (053) 94-3327 ต่อ 127
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com
Facebook: Atichart Kettapun
เว็บไซต์: www.atichart.com
ผู้สอน:
อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
ห้องพัก:
CB 2224 (ตึกเคมี
2 ชั้น 2)
โทรศัพท์:
(053) 94-3336 ต่อ 102
อีเมล์: swaew0[at]yahoo.com
Facebook: Siriwan Waew
Facebook Group ของรายวิชา: 201117 2/2556
วันเวลาที่สอน:
จันทร์และพฤหัสบดี เวลา 08.00-09.30 น. ห้อง SCB 4102
(อยู่ระหว่างภาควิชาคณิตศาสตร์ ธนาคารกสิการไทยสาขา มช.
และโรงอาหารชีววิทยา)
Office Hours:
นักศึกษาสามารถนัดพบนอกเวลาสอนได้เสมอ
สัดส่วนการให้คะแนน:
สอบกลางภาค 35%
สอบปลายภาค 35%
การสอบย่อย 20%
รายงาน (ดูรายละเอียด) 10%
สอบกลางภาค: วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556 เวลา 15.30-18.30 น. ห้อง RB3210
สอบปลายภาค: วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08.00-11.00 น. ห้อง RB5102
ประกาศคะแนน: คะแนนสอบเก็บทั้งหมดก่อนสอบปลายภาค 65% ณ วันที่ 2 ม.ค. 57 (PDF)
แหล่งข้อมูลประกอบการเรียนการสอน :
1) เอกสารประกอบการสอน
บทที่ 4 การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยในมิติคณิตศาสตร์ - เนื้อหาทั้งหมดสามารถออกสอบกลางภาคได้ (มีบริการที่ร้านถ่ายเอกสารด้วย)
บทที่ 4 บทความ "เสาหลักเมืองแทนทฤษฏีพิทากอรัสได้อย่างไร" - อ่านเสริมสำหรับคนที่ต้องการศึกษาที่มาของการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง
บทที่ 4 The Existing Suvannaphum at Wat Pra Yeun - บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่ออธิบายการใช้ศาสนสถานเพื่อจัดทำปฏิทิน เหมาะสำหรับอ่านเสริมเฉพาะคนที่สนใจการนำเสนอทางวิชาการที่ลึกซึ้ง
เทคนิคการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ประเภทประติมากรรม
บรรยายโดยนางจิราภรณ์ อรัณยนาค
นักวิทยาศาสตร์ ๙ ชช. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ กรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานโครงการการจัดการความรู้ด้านการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ้ (ฉบับสมบรูณ์)
โดยกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร (สอน 16 ม.ค.57)
2) วีดีทัศน์ประกอบการสอน
วีดีทัศน์ "David Christian: The history of our world in 18 minutes" โดย TED (สอน 23 ธ.ค. 56)
วีดีทัศน์ "Timeline of World History: Pre-History-Meso-America. Silliman University. History 24-B." โดย Prof. Pamate (สอน 23 ธ.ค. 56)
วีดีทัศน์ "Full Version History Timeline Song with Pictures & Subtitles" โดย Classical Conversations 2012 (สอน 23 ธ.ค. 56)
วีดีทัศน์ "Marcin Jakubowski: Open-sourced blueprints for civilization" โดย TED (สอน 2 ม.ค. 57)
วีดีทัศน์ "Recovering the Colors of Fossil Animals" โดย YaleCampus (สอน 2 ม.ค. 57)
วีดีทัศน์ "Ancient Science Solves Future Energy Crisis! Pyramid Wind Turbine VAWT" โดย Henry Kroll (สอน 2 ม.ค. 57)
วีดีทัศน์ "Christina Warinner: Tracking ancient diseases using ... plaque" (สอน 6 ม.ค. 57)
วีดีทัศน์ "Maurizio Seracini: The secret lives of paintings" (สอน 6 ม.ค. 57)
Ben Kacyra: Ancient wonders captured in 3D เลือกshow transcript เป็นภาษาไทยได้ (สอน 16 ม.ค.57)
Ancient Marine Archaeology (สอน 16 ม.ค.57)
Welcome to the British Museum สามารถค้นหาวัตถุโบราณต่างๆที่สะสมในพิพิธภัณฑ์ได้ (ลิงค์น่าสนใจ)
The Textile Museum (ลิงค์น่าสนใจ)
The Fitz William Museum (ลิงค์น่าสนใจ)
Science - Fibre to Fabric - What people wore in ancient times - English โดย Bodhaguru Learning (สอน 27 ม.ค.57)
Science - Fibre to Fabric - Fiber, Yarn and Fabric - English โดย Bodhaguru Learning (สอน 27 ม.ค.57)
การอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ : ผ้าโบราณ (สอน 27 ม.ค.57)
Young explorers: a brief history of writing British Museum (สอน 30 ม.ค.57)
Ancient Writing โดย ABC TV Catalyst (สอน 30 ม.ค.57)
The Story of Money (สอน 30 ม.ค.57)
Young explorers: a brief history of money โดย British Museum (สอน 30 ม.ค.57)
LaunchPad: Coin Production in the Ancient Greek World โดย ArtInstituteChicago (สอน 30 ม.ค.57)
การบูรณะปราสาทพิมาย (ฉบับการ์ตูน) (สอน 3 ก.พ.57)
LaunchPad: Conserving Ancient and Byzantine Art at the Art Institute of Chicago โดย ArtInstituteChicago (สอน 3 ก.พ.57)
LaunchPad: Ancient Greek Vase Production and the Black-Figure Technique โดย ArtInstituteChicago (สอน 3 ก.พ.57)
3) ความรู้เพิ่มเติม
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) :
ผลงานของนักศึกษาในกระบวนวิชา 201117 :
Greek Fire - นำเสนอในรูปแบบวีดีทัศน์ (ชมวีดีทัศน์)
สมการคณิตศาสตร์กับการตัดเย็บจีวร - นำเสนอในรูปแบบวีดีทัศน์ (ชมวีดีทัศน์)
วัดเจดีย์หลวง - นำเสนอในรูปแบบวีดีทัศน์
นาฬิกาแดด (Sundial) - นำเสนอในรูปแบบการสร้างนาฬิกาแดดขนาดเล็ก
โคลอสเซียม - นำเสนอในรูปแบบการสร้างแบบจำลอง, การสร้างแผ่นนำเสนอนิทรรศการ
หอเอนปิซา - นำเสนอในรูปแบบการสร้างแบบจำลองหอเอนปีซา และการทำรายงานศึกษาค้นคว้ลา
ยุ้งข้าว (หลองข้าว) - นำเสนอในรูปการทำรายงานศึกษาค้นคว้า มีการลงพื้นที่จริง
มหัศจรรย์สามเหลี่ยมปาสคาล - นำเสนอในรูปการทำรายงานศึกษาค้นคว้า
โมไอ - นำเสนอในรูปการทำรายงานศึกษาค้นคว้า
นาฬิกาแดดขนาดเล็ก แบบจำลองหอเอนปิซา
สื่อนำเสนอโคลอสเซียม
ความประทับใจของนักศึกษาที่เรียนกระบวนวิชา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 :
จากการเรียนวิชานี้ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเรียนในวิชาใดมาก่อน นักศึกษาศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
อาจารย์มีความตั้งในดีมากทั้งในเรื่องการสอน การแจ้งคะแนน และอัพเอกสารผ่านเว็บไซต์ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
รู้ประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์มากขึ้น / ชอบวิชานี้มาก นักศึกษาศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
เป็นวิชาที่อาจารย์ใจดี
แถมมีสิ่งที่เรียนเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ เรียนแล้วสนุกดี :-)
นักศึกษามนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
อยากให้เด็กปี 1 มาเรียน / สนุกจริงๆ
นักศึกษามนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
วิชานี้เป็นวิชาใหม่ที่มีความน่าสนใจ อยากให้คนอื่นได้มาเรียนรู้ มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
Quiz ในห้อง (อ.ช่วยมากๆๆๆ) / อาจารย์ใจดีมากค่ะ :-) นักศึกษามนุษยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
เนื้อหาน่าสนใจ
เป็นความรู้นอกกรอบและไม่ได้อยู่ในตำราเรียน / อาจารย์สอนสนุกมาก
มีการพาไปดูของจริง มี VDO ให้ดูและมีผู้เชี่ยวชาญมาอธิบาย
ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนและให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น นักศึกษาศึกษาศาสตร์
ชั้นปีที่ 3
วิชานี้เป็นวิชาที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องราวที่ไม่อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน
ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ แล้วสามารถนำไปศึกษาต่อได้ /
การเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นการเรียนการสอนที่ทีความเป็นกันเอง
นักศึกษาและอาจารย์ร่วมอภิปรายเนื้อหาร่วมกัน มีการสอบย่อยที่เป็นการสอบที่ไม่ยาก
เพื่อเป็นการเช็คนักศึกษา
วิชานี้เป็นวิชาที่นำเสนอความรู้ในด้านที่เรามักไม่สนใจ
แต่วิชานี้ข้าพเจ้ารู้สึกสนใจ จึงอยากให้อาจารย์คงความตื่นเต้นในการสอน
นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
เป็นวิชาที่ดี
ช่วยเปิดโลกกว้างให้แต่ตัวผู้เรียน ได้มีความรู้ที่หาไม่ได้จากห้องเรียนทั่วๆไป
นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
มีการแนะนำข้อสอบก่อนสอบ ทำให้ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออกไป เนื้อหาที่ควรอ่านก็มีน้อยลง ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญได้ครบถ้วน / เรียนสบายๆ อาจารย์สอนสนุก / นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
เป็นวิชาที่น่าสนใจ เน้นการเข้าใจจากกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
สิ่งที่เป็นจุดเด่น การเป็นกันเองของอาจารย์ /
การบรรยายที่เน้นความเข้าใจเป็นหลัก นักศึกษารัฐศาสตร์ฯ ชั้นปีที่ 2
ข้อความประชาสัมพันธ์กระบวนวิชา :
สัมภาษณ์วิทยุ สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน FM.100 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 18 กันยายน 2556 และออกอากาศซ้ำ วันที่ 15 ตุลาคม 2556
ข่าวรอบสัปดาห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 22-29 ก.ย. 56
ตัวอย่างประเด็นและคำถามที่น่าสนใจ ที่สอนในกระบวนวิชา 201117
เรียนรู้หน่วยวัดในอดีต ที่ยังมีการใช้ถึงปัจจุบัน และใช้ศึกษาเรื่องราวที่มีการบันทึกไว้ในทางประวัติศาสตร์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
การนำองค์ความรู้คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างใช้มาสร้างกำแพงเชียงใหม่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำสูงกว่าวิธีที่ประเทศตะวันตกใช้ในสมัยก่อน
การใช้คณิตศาสตร์ศึกษาสิ่งก่อสร้างในโบราณ เช่น วิหารกรีก ปิรามิด และบ่อน้ำ ณ วัดน้ำบ่อหลวง เป็นต้น
รู้จักศักราชที่สำคัญ และการเทียบศักราชต่างๆ เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จุลศักราช มหาศักราช รัตนโกสินทร์ศก และ ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช เป็นต้น
ทำไมจึงมีการตัดสินใจที่น่าพิศวง โดยการลบวันที่ 5-14 ตุลาคม ค.ศ. 1582 ออกจากปฏิทินสากล(ปฏิทินเกรกอเรียน)
ทำไมในปฏิทินราชการไทยจึงมีเดือนหายไป 3 เดือน คือ เดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ.2484
ทำไมการเทียบ ค.ศ. และ พ.ศ. ไม่สามารถใช้สูตร พ.ศ. = ค.ศ. + 543 ทุกครั้ง ในกรณียกเว้นควรจะใช้สูตรใดแทน
ปัญหาในการสร้างปฏิทินในอดีตและอนาคตคืออะไร และเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร
ทำไมวันเพ็ญเดือน 12 ในบางปีพระจันทร์ถึงไม่เต็มดวง แต่พระจันทร์กลับไปเต็มดวงในวันอื่น
ทำไมวัดส่วนใหญ่จึงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเกี่ยวข้องกับการสร้างปฏิทินหรือไม่อย่างไร
การศึกษาความมหัศจรรย์ของจัตุรัสกลในอารยธรรมต่างๆ รวมถึงยันต์ล้านนา ซึ่งทำให้เข้าใจว่าคนสมัยก่อนมีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์มากเพียงใด
เราสามารถมองเห็นภาพร่างที่ซ่อนอยู่หลังภาพวาดของจิตกรเอกของโลกได้อย่างไร
เราจะสามารถคำนวณหาอายุวัดถุโบราณด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในการอนุรักษ์วัตถุโบราณเป็นอย่างไร
การนำเอาวิทยาศาสตร์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร อาทิ เครื่องเขิน และกาวเม็ดมะขาม เป็นต้น
ปรากฏการณ์พระธาตุหัวกลับที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปาฏิหาริย์ หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์กันแน่ และเราสามารถสร้างพระธาตุหัวกลับเองได้หรือไม่
เราสร้างภาพจำลองเสมือนจริงของภาพจิตกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 500-600 ปีก่อนได้อย่างไร และมีการนำองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ มาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวัดอุโมงค์อย่างไร
ฯลฯ