เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม
(MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
คะแนนสอบเก็บ 65% อยู่ด้านล่างนะครับ
เอกสารการสอนเรื่องชาติพันธุ์อยู่ด้านล่างนะครับ
ขอนักศึกษาช่วยไปทำแบบประเมินการสอนวิชานี้ใน
CMU MIS ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
นักศึกษาที่ยังไม่ได้อยู่ในกลุ่มเฟสวิชานี้ แนะนำให้รีบไปสมัครเพราะจะได้ทราบข่าวสารก่อนคนอื่นนะครับ เช่น การนัดหมายเรียน การเตือนเรื่องการส่งงาน และข้อมูลอื่นๆ โดยกดลิงค์ไปที่ 201117 2/2557
ชื่อกระบวนวิชา: คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)
ผู้สอน: อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
ห้องพัก: MB 2304 (ตึกคณิตศาสตร์ ชั้น 3)
โทรศัพท์: (053) 94-3327 ต่อ 127
อีเมล์: kettapun[at]gmail.com
Facebook: Atichart Kettapun
เว็บไซต์: www.atichart.com
ผู้สอน:
อาจารย์ ดร.คมสันติ โชคถวาย
ห้องพัก:
PB1-338 (ตึกฟิสิกส์1 ชัน 3)
โทรศัพท์:
(053) 94-3367
อีเมล์: komsanti.chokethawai[at]cmu.ac.th
Facebook: kom cmu
Facebook Group ของรายวิชา: 201117 2/2557
วันเวลาที่สอน:
อังคารและศุกร์ เวลา 08.00-09.30 น. ห้อง SCB1100
Office Hours:
นักศึกษาสามารถนัดพบนอกเวลาสอนได้เสมอ
สำหรับนักศึกษาที่ต้องการสอบถามก่อนสอบกลางภาค สามารถมาพบอาจารย์อติชาต ได้ในวันจันทร์ที่ 2 มี.ค. 58 เวลา 10-12 น. ที่ห้องพัก MB2304 ตึกคณิตศาสตร์
สัดส่วนการให้คะแนน:
สอบกลางภาค 30%
สอบปลายภาค 30%
รายงาน/ผลงาน 30%
การสอบย่อย 10%
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์: วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09.30-12.00 น. นัดเจอกันที่ลานเจดีย์ วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม กรุณามาตรงเวลา หากไม่รู้จักสถานที่ ขอแนะนำให้มาก่อนเวลา
กำหนดการเรื่องการทำรายงาน:
1. ให้จัดกลุ่มละ 4-7 คนเท่านั้น โดยเน้นให้ทำงานเป็นทีม
ให้หาข้อมูลร่วมกัน อภิปรายถกเถียงกัน และหาข้อสรุปร่วมกัน
2.
ส่งรายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
วันศุกร์ที่ 30 ม.ค. 58
3. ชมผลงานนักศึกษารุ่นก่อน
วันพุธที่ 4 ก.พ. 58 เวลา 11.00-14.00 น. และวันศุกร์ที่ 6 ก.พ. 58 เวลา
14.30-16.00 น. ณ ห้องอ่านหนังสือ (ห้องสมุด)
ภาควิชาคณิตศาสตร์ นับเป็น Quiz ด้วย
4. ส่งหัวข้อและแนวทางการสร้างผลงาน
วันอังคารที่ 24 ก.พ. 58
5. ส่งผลงานสมบูรณ์
วันศุกร์ที่ 10 เม.ย. 58
6. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนของกลุ่มที่ถูกคัดเลือก
(หลังวันที่ 10 เม.ย. 58)
สอบกลางภาค: วันพุธที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 15.30-17.30 น. ณ ห้อง RB3201 (ลำดับที่ 1-48) และ RB3202 (ลำดับที่ 49-95) / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ / ให้ นศ. เตรียมดินสอ 2B ยางลบ เครื่องคิดเลขธรรมดา สำหรับการสอบด้วย (ห้ามใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์)
สอบปลายภาค: วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2558 เวลา 12.00-15.00 น. ณ ห้อง RB5102 (ลำดับที่ 1-48) และ RB5103 (ลำดับที่ 49-95) / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ
ประกาศคะแนน:
คะแนนเก็บ 65% และ
การวิเคราะห์คะแนนเก็บ
65% (ขาดคะแนน Quiz 5% และคะแนนสอบปลายภาค 30%) ประกาศวันที่ 29
เม.ย. 58 หากพบข้อผิดพลาดหรือสงสัยในคะแนนโปรดแจ้ง อ.ดร.อติชาต เกตะตะพันธุ์ โดยทันที
ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม :
สามารถคลิกที่นี่เพื่อชมภาพเพิ่มเติม
ตอนแรกนึกว่าจะเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ
เพราะว่าเป็นการทัศนศึกษาวัด แต่เมื่อได้มาถึงกลับ ตื่นตา ถูกใจ แปลกใจ
คำถามเข้ามาในหัวสมองมากมาย เป็นวัดที่แปลกตา มีอุโมงค์
มีประวัติที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก แถมยังเหลือหลักฐานให้พวกเราเห็นจนถึงปัจจุบันทนี้
จึงเป็นการทัศนศึกษาที่ได้บุญ ได้ความประทับใจหลายอย่างพร้อมกัน
นายราชวัช ถิ่นจอม นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
วัดอุโมงค์เป็นอะไรที่อลังการมาก และทุกส่วนในวัดอุโมงค์มีอะไรให้เราคิดเสมอ
เหมือนถูกสร้างขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มันเป็นความประทับใจที่มากสุดว่า
คนโบราณก็มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนปัจจุบัน
นายอนุวัฒน์ กุณารบ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
มาครั้งแรกก็ได้รับความรู้มากมาย
ถ้ามาเองก็คงไม่รู้ว่าในอุโมงค์เป็นภาพอะไร ความรู้จะเกิดก็ต้องตั้งคำถาม
ดีกว่าไปให้อาหารปลา เห็นทั้งศิลปะและประวัติศาสตร์ และยังเห็นถึงเศรษฐกิจในอดีต
เห็นถึง การค้า เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และงานศอลปะ เปรียบได้มาสวรรค์ที่สูงส่ง
นางสาวเกณิกา จันจินะ นักศึกษาคณะเกษรตศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติของวัดอุโมงค์
2.เทคนิคและการศึกษาเกี่ยวกับจิตรกรรมวัดอุโมงค์ 3.ได้เห็นลวดลายของจิตรกรรมในอดีต
เป็นกิจกรรมที่สนุกไม่น่าเบื่อและยังได้ความรู้เหมือนมาพักผ่อน
อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ให้น้องๆรุ่นอื่นมาอีก
เพราะบางทีเคยมาวัดอุโมงค์แต่ไม่เคยเข้ามาในอุโมงค์และดูรูปจิตรกรรมของอุโมงค์เลย
นางสาวสาริศา ใจสมัคร นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 2
รู้สึกประทับใจมาก โดยส่วนตัวเป็นคนชอบธรรมะค่อนข้างมาก
จะพยายามเข้าใกล้พระธรรมทุกครั้งที่มีโอกาส
ครั้งนี้ถือเป็นการทำให้ข้าพเจ้าได้ใกล้ชิดพระธรรมมากขึ้น
และยังได้ชมอุโมงค์ที่มีประวัติยาวนาน
นางสาวณัชชา ลาวัณย์รัตนากุล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
แหล่งข้อมูลประกอบการเรียนการสอน :
1) เอกสารทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนวิชา
ใบประชาสัมพันธ์กระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
รายละเอียดกระบวนวิชา 201117 (ไฟล์ PDF)
ข้อตกลงกระบวนวิชา
201117 (ไฟล์ PDF)
การทำรายงานหรือผลงาน กระบวนวิชา
201117 (ไฟล์
PDF)
ไฟล์สำหรับกรอกรายชื่อสมาชิกในกลุ่มและข้อมูลการทำรายงานหรือผลงาน (ไฟล์ PDF,
ไฟล์
Excel)
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2555
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการสอบของนักศึกษา พ.ศ.2554
ดูลำดับที่ของนักศึกษาจากเว็บไซต์สำนักทะเบียน และ ชื่อกลุ่มทำผลงานของแต่ละคน (ให้ตรวจสอบความถูกต้องด้วยนะครับ)
2) เอกสารประกอบการสอน
การ์ตูนประวัติศาสตร์ไทยในมิติคณิตศาสตร์ - เนื้อหาทั้งหมดสามารถออกสอบกลางภาคได้
บทความ "เสาหลักเมืองแทนทฤษฏีพิทากอรัสได้อย่างไร" - อ่านเสริมสำหรับคนที่ต้องการศึกษาที่มาของการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง
The Existing Suvannaphum at Wat Pra Yeun - บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เพื่ออธิบายการใช้ศาสนสถานเพื่อจัดทำปฏิทิน เหมาะสำหรับอ่านเสริมเฉพาะคนที่สนใจการนำเสนอทางวิชาการที่ลึกซึ้ง
โปรแกรมประเสริฐ V.5.93 โดย อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง - เป็นปฏิทิน 5000 ปี (ฝรั่ง ไทย จีน แขก และดาราศาสตร์) ง่ายต่อการพิมพ์ลงกระดาษกดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
โปรแกรม ปฏิทินพระจอมเกล้า V.1.53 โดย อ.ลอย ชุนพงษ์ทอง- แบบปักขคณา(ร.๔) และฤกษคณนา(ล.ช.) ผลการคำนวณจะได้ วันเดือนปี ตามปฏิทินพระจอมเกล้าฯ ซึ่งละเอียด และแม่นยำกว่าปฏิทินหลวง แบบราชการ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง
พันธุศาสตร์กับการตามรอยบรรพชน
คนไทยมาจากไหน??...ในมุมมองของนักพันธุ์ศาสตร์ ในคาบเรียน โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพล คาปวนสาย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 31 มีนาคม 2558
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง
การเขียนอ้างอิงทางวิชาการ ในคาบเรียน โดย อาจารย์ ดร.
วรรษพร อารยะพันธ์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 7 เมษายน 2558
3) วีดีทัศน์ประกอบการสอน และลิงค์น่าสนใจ
4) ตัวอย่างรายงานหรือผลงานสำหรับวิชา 201117
รายงานเรื่อง "กฏหมายในมิติคณิตศาสตร์" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2556
วีดีทัศน์ "Greek Fire" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
วีดีทัศน์ "สมการคณิตศาสตร์กับการตัดเย็บจีวร" - ผลงานนักศึกษา 201117 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
กิจกรรมการเรียนรู้ สร้างกิจกรรมที่นำไปสอนนักเรียน หรือ/และ นักศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมถอดรหัสตัวเลขในฤกษ์ก่อสร้าง ดูตัวอย่างงานที่ทำเสร็จแล้วหลายเรื่องได้ที่ http://www.atichart.com/Hist_Math_Project.htm, http://math.science.cmu.ac.th/ams/HistSciProject.htm, http://www.atichart.com/Integrated_Math_Sci_for_Lanna.htm
5) เอกสารอ้างอิงในกระบวนวิชานี้
ลอย ชุนพงษ์ทอง, ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, รัฐยาการพิมพ์, 2550.
สมัย ยอดอินท์ และคณะ, งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555, พิมพ์ครั้งที่ 1, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
สมัย ยอดอินทร์ และมัลลิกา ถาวรอธิวาสน์, ภาพรวมของคณิตศาสตร์, ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
วินัย พงศ์ศรีเพียร, วันวาร กาลเวลา และนานาศักราช, พิมพ์ครั้งที่ 2, ศักดิโสภณการพิมพ์, 2552.
ประมวล เพ็งจันทร์ และชัชวาล บุญปัน, สังขยาปกาสกฎีกา อุปกรณ์แห่งการหยั่งรู้ถึงความจริงจากโลกวิทยาศาสตร์พุทธศาสนา, บทความ, 2543.
โทนี่ คริลลี่, 20 คำถามสำคัญของคณิตศาสตร์. The Big Questions : Mathematics. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.
Robert Blitzer, Thinking Mathematically, 3rd ed., Pearson Education, 2005.
Goffer, Zvi, Archaeological Chemistry, v.55, New York, John Wiley & Sons, Inc., 1980.
Pollard, A.M., et al, Analytical chemistry in archaeology, Cambridge, New York: Cambridge University Press, 2007.
5) ความรู้เพิ่มเติม
ห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติคณิตศาสตร์ โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์
โครงการประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์ โดย ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
โครงการบูรณาการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ล้านนา โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ และ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
การนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) โดยทีมงานวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่