เว็บไซต์กระบวนวิชา 201117

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม

(MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)

 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

 



 

ชื่อกระบวนวิชา: คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (MATHEMATICS AND SCIENCE IN CIVILIZATION)

 

ผู้สอน:            อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์
ห้องพัก:         CB 2224 (ตึกเคมี 2 ชั้น 2)
โทรศัพท์:      (053) 94-3336 ต่อ 102

อีเมล์:           swaew0[at]yahoo.com

Facebook:   Siriwan Waew

 

ผู้สอน:         อาจารย์ ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์

ห้องพัก:       MB 2304 (ตึกคณิตศาสตร์ ชั้น 3)

โทรศัพท์:     (053) 94-3327 ต่อ 127

อีเมล์:           kettapun[at]gmail.com

Facebook:   Atichart Kettapun

เว็บไซต์:       www.atichart.com

 

Facebook Group ของรายวิชา: 201117 1/2557

 

วันเวลาที่สอน:
    อังคารและศุกร์ เวลา 11.00-12.30 น. ห้อง RB5201
 

Office Hours:

    นักศึกษาสามารถนัดพบนอกเวลาสอนได้เสมอ

 

สัดส่วนการให้คะแนน:  

       สอบกลางภาค                       30%

        สอบปลายภาค                      30%

        รายงาน/ผลงาน                 30% 

        การสอบย่อย                        10%

 

ทัศนศึกษา ณ วัดอุโมงค์: วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 11.10-12.30 น. นัดเจอกันที่ลานเจดีย์ วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม

สอบกลางภาคสอบกลางภาค: วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 12.00-15.00 น. ณ ห้อง RB3302 (ใครไม่ใส่ชุดนักศึกษามาสอบ อาจไม่อนุญาตให้เข้าสอบ แต่หากอนุโลมให้เข้าสอบได้ก็จะมีการหักคะแนนสอบ) สำหรับนักศึกษาที่สอบในเวลา 15.30-18.30 น. จะสอบที่ห้อง MB2111 ตึกคณิตศาสตร์นะครับ

สอบปลายภาค: วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 15.30-18.30 น. ณ ห้อง RB5101 / เนื้อหาทุกเรื่องที่สอนสามารถออกข้อสอบได้ แต่ในส่วนของวัดอุโมงค์จะออกสอบเฉพาะในส่วนของคณิตศาสตร์เท่านั้น ส่วนเรื่องพระธาตุหัวกลับไม่ออกสอบ / หากนักศึกษาไม่ใส่ชุดนักศึกษาตามระเบียบ มช. กรรมการคุมสอบมีสิทธิ์ที่ไม่ให้นักศึกษาเข้าสอบ ในกรณีที่อนุญาตให้เข้าสอบได้จะมีการหักคะแนนสอบ / ให้ นศ. เตรียมดินสอ 2B ยางลบ เครื่องคิดเลขธรรมดา สำหรับการสอบด้วย (ห้ามใช้เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์)

 

ประกาศคะแนน: ไฟล์คะแนนเก็บทั้งหมด 70% และ ไฟล์สรุปคะแนนเก็บทั้งหมด (ประกาศวันที่ 26 พ.ย. 57) - หากพบข้อผิดพลาดให้แจ้งอาจารย์ทราบภายในวันศุกร์ที่ 28 พ.ย. 57

 


 

แหล่งข้อมูลประกอบการเรียนการสอน :

 

1) เอกสารทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนวิชา

2) เอกสารประกอบการสอน

3) วีดีทัศน์ประกอบการสอน และลิงค์น่าสนใจ

4) ตัวอย่างรายงานหรือผลงานสำหรับวิชา 201117

5) เอกสารอ้างอิงในกระบวนวิชานี้

5) ความรู้เพิ่มเติม


 

ผลงานของนักศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 :

             ในกระบวนวิชา “คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับอารยธรรม (201117)” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดให้นักศึกษาสร้างผลงาน (project) ที่นำเสนอถึงการนำคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาเกี่ยวกับอายรยธรรมระดับท้องถิ่น ประเทศ หรือโลก โดยสามารถนำเสนอในรูปแบบของ รายงาน วีดีทัศน์ แบบจำลอง กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เกม งานวิจัย หรือในรูปแบบอื่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้เลือกสร้างผลงานที่ตนเองสนใจ และผลงานนั้นต้องคิดหรือจัดทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีจำกัดกรอบในการคิดจึงได้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจจำนวนมากในหลากหลายรูปแบบ และในการจัดทำผลงานยังพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และภูมิใจกับผลงานที่ถูกนำมาเสนอในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก ในปีการศึกษานี้ผู้สอนได้กำหนดให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานผ่านวีดีทัศน์(ยกเว้นเฉพาะกลุ่มที่จัดทำวีดีทัศน์) ผู้สอนจึงนำผลงานบางส่วนมาแสดงให้นักศึกษาที่เรียนและผู้สนใจทั่วไปให้ได้รับชมในเว็บไซต์นี้

กลุ่ม 4 Umong Simulator (แบบจำลอง 3D วัดอุโมงค์)

แบบจำลอง 3D นี้ได้พัฒนาจากโปรแกรมสร้างเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ชมได้เข้าชมอุโมงค์ในวัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม ได้ด้วยตนเอง บางอุโมงค์ได้นำภาพที่มีสีสันไปใส่ให้ชม จะได้ทราบบรรยากาศของอุโมงค์เมื่อ 500-600 ปีก่อน และยังมีข้อมูลเกียวกับอุโมงค์ ภาพเขียน สีที่ใช้เขียนภาพ ให้คลิกเพื่อเปิดอ่านได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมนี้ออนไลน์จากลิงค์ที่กำหนดให้ได้ด้านล่าง

 

วีดีทัศน์นำเสนอ แบบจำลอง 3D เรื่อง "Umong Simulator"


กลุ่ม 7 ห้องแห่งความลับ (แบบจำลอง, รายงาน)

ผลงานชิ้นนี้เป็นการจัดทำรายงานและแบบจำลองเพื่ออธิบายว่า ปรากฏการณ์พระธาตุกลับหัวซึ่งพบเฉพาะที่วัดในจังหวัดลำปางนั้น ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์หรือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยได้มีการจัดทำวีดีทัศน์เพื่อนำเสนอผลงานนี้ด้วย

 

วีดีทัศน์นำเสนอรายงานและแบบจำลอง เรื่อง "ห้องแห่งความลับ"

แบบจำลอง "ห้องแห่งความลับ"

กลุ่ม 10 มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์ (แบบจำลอง, กิจกกรรมการเรียนรู้)

แท่งเนเปียร์เป็นอุปกรณ์การคำนวณที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยในการคูณและหารเลขได้อย่างรวดเร็ว ในการนำเสนอวีดีทัศน์ได้แสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของแท่งเนเปียร์รวมถึงการนำมาใช้ในการคูณและการหารได้เป็นอย่างดี ส่วนแบบจำลองก็ทำให้ผู้ชมสามารถนำคำนวณเลขได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้มีคู่มือแนะนำการใช้งานและแบบฝึกหัดพร้อมเฉลยเพิ่มเข้ามาด้วย

 

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์"

แบบจำลอง "มหัศจรรย์แท่งเนเปียร์"

กลุ่ม 11 ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู (แบบจำลอง)

แบบจำลองนี้เน้นอธิบายปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะเกิดขึ้น 4 ครั้งต่อปี โดยสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่าย และยังทำให้เข้าใจด้วยว่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันสามารถเกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ ได้หรือไม่ อะไรคือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้

 

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "ไขปริศนาปรากฎการณ์แสงอาทิตย์ลอดผ่าน 15 ช่องประตู"

แบบจำลอง "มหัศจรรย์แสงลอดช่องเขาพนมรุ้ง"

กลุ่ม 5 ความลับของสะพานหิน (แบบจำลอง)

ผลงานชิ้นนี้เป็นการสร้างแบบจำลองสำหรับให้ศึกษาหลักการสร้างสะพานหินโค้ง โดยผู้ชมสามารถสร้างสะพานหินโค้งจำลองได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ได้มีการสร้างวีดีทัศน์นำเสนอเรื่องสะพานหินโค้งจำลองและได้อธิบายถึงสะพานชนิดอื่นๆ อีกด้วย ผู้สนใจสามารถดาวโหลดเอกสารเรื่องการสร้างแบบจำลองรวมถึงข้อมูลสะพานแบบอื่นๆ ไปศึกษาได้อีกด้วย

 

วีดีทัศน์นำเสนอแบบจำลอง เรื่อง "ความลับของสะพานหิน"

แบบจำลอง "ความลับของสะพานหิน"

กลุ่ม 9 Harmonize bricks (รายงาน)

ข้อมูลรายงานรวมถึงวีดีทัศน์นำเสนอในผลงานนี้ ได้ทำให้ผู้ชมได้เห็นถึง การศึกษาการเรียงตัวของอิฐ วัสดุเชื่อมประสานอิฐ คุณสมบัติของอิฐ และการทำอิฐในหลายวัฒนธรรม เช่น ในอียิปต์ ทวีปเอเชียและไทย และทวีปยุโรป

 

วีดีทัศน์นำเสนอรายงานผ่าน Power Point เรื่อง "Harmonize Bricks"


 

ความประทับใจของผู้เรียน :

 

“เมื่อได้เรียนวิชานี้รู้สึกชอบมาก เพราะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเราแต่เราไม่เคยรู้มาก่อน อาจารย์สอนสนุก มีวีดีโอให้ดูประกอบการสอน และได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของยุคต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนอีกด้วย สนุกสนานและตื่นเต้นดีค่ะ”
นางสาวรัตติกาล ศรีวิชัย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา ชั้นปีที่ 2


“เนื้อหาวิชาน่าสนใจ เนื้อหาเข้าใจง่าย เป็นการนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มาอธิบายให้เหตุผลกับประวัติศาสตร์บางอย่างที่เราคิดว่าเป็นเรื่องจริงเหนือธรรมชาติ ถือเป็นวิชาที่ดี และน่ามาเรียน / อาจารย์สอนสนุก ทำให้การเรียนสนุกสนาน และมีความสุข / อยากแนะนำเพื่อนมาเรียน เพราะเป็นวิชาที่มีประโยชน์ ทำให้เรามีความรู้ในเรื่องที่คนอื่นอาจไม่รู้ และความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้”
นางสาวพณิดา โตยะบุตร นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 2

 

“จุดเด่นของวิชานี้คือการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมซึ่งแตกต่างจากวิชาอื่น การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนมากในคนรุ่นหลัง เพราะจะทำให้เข้าใจความเป็นอยู่และวัฒนธรรมในสมัยนั้นๆ และเข้าใจการสร้างหลักการสำคัญต่างๆ เห็นถึงวิวัฒนาการของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทำให้วิชาที่มีคุณค่าแก่คนรุ่นหลังอย่างวิชานี้ต้องคงไว้เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นๆ”
นางสาวณัฐธีวรรณ ดวงจินดา นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 1


“จุดเด่น ก็คือการได้เรียนในอารยธรรมเริ่มต้นของในทุกๆ เรื่อง เพราะวิชาอื่นๆ ไม่ได้เริ่มเรียนจากเรื่องพื้นฐานง่ายๆ แบบวิชานี้ บางทีอาจารย์ก็สอนในเรื่องง่ายๆ ที่เรามองข้าม ข้อสอบไม่ยาก ไม่ออกนอกเหนือจากที่อาจารย์สอน และจุดเด่นอีกหนึ่งอันก็คือ ได้ไปทัศนศึกษาที่วัดอุโมงค์ พร้อมมีวิทยากร”
นางสาวปัญญาพร ราชเครือ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 2

“จุดเด่นของวิชานี้คือ ได้ทำงานที่สร้างสรรค์ ต้องคิดขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำออกมาให้ดี เพราะให้คะแนนถึง 30 คะแนน อาจารย์อติชาตสอนสนุก มีความตั้งใจสอนดี และมีพลังในการสอน ทำให้มีความตื่นเต้นในการเรียน และยังได้ไปดูวัดอุโมงค์ของจริงอีกด้วย”
นางสาวทีปภา ปริญญาณัฏฐ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3


“จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ คือ การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมความเป็นมาของวัดอุโมงค์ เพราะน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความเป็นมาและความงดงามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา แต่หากเราได้ศึกษาเรื่องนี้เราก็จะได้ทราบความเป็นมาและลวดลายที่หายไป เมื่อเราไปวัดอุโมงค์เราก็จะทราบถึงความเป็นมา และมองได้เห็นลวดลายที่หายไป และสามารถอธิบายและบอกต่อคนที่ไม่ทราบได้ด้วย”
นางสาวแพรวไหมคำ เชื้อเจ็ดตน นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 2

“สอนในสิ่งที่วิชาอื่นไม่มีสอน การประยุกต์ประวัติศาสตร์ว่าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร สอนการดูปฏิทินจันทรคติ พาออกไปดูสถานที่จริง การนำวีดีโอมาประกอบการสอนมีความน่าสนใจ เข้าใจที่มาของสิ่งต่างๆ และประวัติศาสตร์หลายอย่าง / หลายเรื่องช่วยให้เรานำไปใช้จริง เช่น การดูพระจันทร์ การบวกลบเลขฐานต่างๆ พาออกไปดูสถานที่จริง อาจารย์สอนสนุก วีดีโอน่าสนใจสนุกมากค่ะ”
นางสาวพรวิสา ชอบชน นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 2


“จุดเด่นของกระบวนวิชานี้ ข้าพเจ้าคิดว่าคือ วิธีการสอนของอาจารย์ และสื่อการสอนต่างๆ ที่อาจารย์นำมาสอน รวมทั้งเนื้อหาของกระบวนวิชาที่อาจารย์นำมาสอนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ที่อย่างคิดไม่ถึง ได้รับรู้ถึงกระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ในอดีตและปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งทำให้สนุกกับการเรียนการสอนมาก”
นางสาวสุชาดา นฤทัย นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 2

“อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องลองเปิดใจ และลงทะเบียนเข้ามาเรียน ซึ่งวิชานี้มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ มีการนำสาขาวิชาในหลายๆ ด้านมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนอธิบายและยกตัวอย่าให้เห็นภาพชัดเจน อาจารย์สอนสนุก มีคลิปวีดีโอให้ดู”
นางสาวพัชราภรณ์ ชมพิกุล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเหมือแร่และปิโตรเลียม ชั้นปีที่ 2


“จุดเด่นของวิชานี้คือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันทั่วไปแต่มันยังคงมีสิ่งที่เราไม่รู้ และมีความรู้ซ่อนอยู่ ทำให้เราทราบถึงความรู้ใหม่ และความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นจากความเชื่อหรือความคิดที่ผิด และจุดเด่นก็คือการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ วิทยาศาสตร์ มาเกี่ยวข้องกันด้วยอย่างลงตัว / ประโยชน์ของการเรียนวิชานี้ ทำให้ทราบถึงสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อก่อนเรามองข้ามความรู้พวกนี้ไป เมื่อได้มาเรียนวิชานี้แล้วทำให้เข้าใจได้มากขึ้น และเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เราควรรู้อย่างยิ่ง และก็การเรียนก็ไม่ได้เรียนแบบเคร่งเครียดย้ำให้จำ แต่เป็นการเรียนที่เน้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ เป็นการเรียนรู้ที่สนุกอย่างหนึ่งค่ะ”
นางสาวธัญญเรศ จิตนาน นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 1


หน้าหลัก