โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการ
เรื่อง 
Fixed Point Theory and Applications to PDEs
(Workshop  in  Fixed Point and Applications to PDEs)

1. โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการทางวิชาการ  เรื่อง  Fixed Point Theory and Applications to PDEs

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ   ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ผู้ประสานงาน               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต  เก็บเจริญ

                                อาจารย์ ดร.สันติ  ทาเสนา

     ผู้ร่วมสนับสนุน                 ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติทางวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ

                                มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                                     

3. หลักการและเหตุผล

                ปัจจุบันการวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์เศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในโลกของเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าทันสมัยทุกประเทศต่างให้ความสำคัญต่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษยชาติ   เพื่อการดำรงอยู่ได้อย่างกลมกลืนโดยไม่ทำลายธรรมชาติ  เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ มีความซับซ้อนและเป็นปัญหาทาง Nonlinear Problems และเราต้องการที่จะใช้หลักการเพื่อการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีการทาง Nonlinear Analysis และ Optimization ที่ใช้ในการประมาณค่าหาคำตอบต่างๆ จึงมีความจำเป็นและมีบทบาทอย่างมากต่อการวิจัยและพัฒนางานและเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านั้น  เทคนิคการประมาณค่าต่างๆเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำสูงๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ใหม่ทาง Numerical Analysis  ชั้นสูง      ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์  ธรรมพงษา และคณะวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติภายใต้หัวข้อเรื่อง การวิจัยและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับวัสดุทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์  ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและนักวิจัยให้มีองค์ความรู้และเทคนิคในการประมาณค่าต่างๆโดยอาศัย Numerical Analysis ชั้นสูง จึงได้จัดประชุมสัมมนาและปฎิบัติการทางวิชาการในหัวดังกล่าว โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศคือ

Prof. Amiya Kumar Pani  จาก   Indian Institute of Technology Bombay  ประเทศอินเดีย  เป็นวิทยากรพิเศษในการบรรยายในโครงการดังกล่าว

 

4. วัตถุประสงค์

4.1   เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีบทจุดตรึงเพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับสมการอนุพันธ์ย่อย

4.2   เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แนวคิดในการวิจัยทางทฤษฎีบทจุดตรึง และการประยุกต์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากร

4.3   เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง

 

5.  ผู้เข้าร่วมประชุม 

คณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจจากมหาวิทยาลัยต่างๆ      จำนวน   30  คน

คณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจจากภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์  จำนวน  20 คน

 

6.  ระยะเวลาในการจัดประชุม

       วันที่  28-30 ธันวาคม 2554

 

7.  สถานที่จัดการประชุม

        ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

8. วิธีดำเนินการ

       การประชุมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการ 

 

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีบทจุดตรึงเพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับสมการอนุพันธ์ย่อย

10.2 ผู้เข้าร่วมประชุม ได้พบปะการแลกเปลี่ยน แนวคิดในการวิจัยทางทฤษฎีบทจุดตรึง และการประยุกต์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากร

 

10.  การติดตามและประเมินผล

        แจกแบบสอบถามและประเมินผล